หลักการออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุกำลังจะเข้ามามีบทบาทสำคัญมากขึ้น ในยุคที่เมืองไทยกำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มตัว และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ การสร้างบ้านยุคใหม่จึงควรมีฟังก์ชันที่รองรับต่อการอยู่อาศัยของผู้สูงอายุด้วย ซึ่งหลักการออกแบบบ้านสำหรับผู้สูงอายุที่ปลอดภัย และมีความสอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม จะมีองค์ประกอบที่สำคัญ และมีความน่าสนใจอะไรบ้างนั้นตามมาชมกันเลยครับ
ความเสื่อมถอยทางด้านร่างกาย กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ส่งผลให้ผู้สูงอายุทำกิจวัตรประจำวัน และเคลื่อนไหวต่าง ๆ ได้ช้าลงกว่าเดิมมาก ระยะก้าวเดินสั้นลง โอกาสสะดุดหกล้มได้ง่าย ทักษะการด้านการทรงตัวก็ลดน้อยลง การหยิบจับสิ่งของและหมุนบิดประตูก็ลดลง
ปัญหาทางด้านสายตา คือสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุทุกคน บางรายอาจมีปัญหาทั้งสายตาสั้นและสายตายาว รวมถึงปัญหาด้านการปรับสายตาปรับตามการเปลี่ยนแปลงของแสงได้ช้าลง ทำให้มองเห็นไม่ชัด ตาพร่ามัว มีโอกาสที่หกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้สูง ที่สำคัญการมองเห็นคลื่นสั้นของสียังเสื่อมถอยลง ทำให้แยกความต่างของสีได้ลำบาก
ผู้สูงอายุจะมีการเสื่อมทางฮอร์โมน เนื่องจากสารเคมีในร่างกายเริ่มมีการผลิตน้อยลงตามช่วงอายุ ส่งผลให้ผู้สูงวัยบางรายป่วยเป็นโรคซึมเศร้า มีอาการนอนไม่หลับ ประกอบกับการใช้ชีวิตประจำวันไม่ได้ดังใจคิดเหมือนเคย จึงทำให้มีอารมณ์ไม่ดี แปรปรวน เกิดอาการหงุดหงิดได้ง่าย
ผู้สูงอายุทุกคนเมื่อถึงวัยจะมีอาการเสื่อมถอยทางการได้ยิน ทำให้ได้ยินไม่ชัดโดยเฉพาะโทนเสียงสูง รวมถึงไม่สามารถแยกเสียงพูดออกจากเสียงรบกวนได้ ส่งผลให้ได้ยินเสียงสนทนาไม่ชัดเจน ซึ่งมีโอกาสที่ผู้สูงวัยผู้ชายจะมีโอกาสเสื่อมถอยทางการได้ยินเกิดขึ้นได้เร็วกว่าผู้หญิงอีกด้วย หากต้องการสื่อสารกับผู้สูงอายุจึงควรพูดให้ชัดถ้อยชัดคำในระดับเสียงที่ดังขึ้น
เมื่อเข้าใจถึงข้อจำกัดด้านสุขภาพที่ผู้สูงวัยต้องพบเจอทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจแล้ว คุณจะทราบถึงแนวทางการออกแบบบ้านให้สอดคล้องกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้ลงตัวมากขึ้น เพื่อให้อธิบายเห็นภาพเคลียร์ชัดมากขึ้น เราจะจัดแบ่งออกเป็นห้องพื้นที่และฟังก์ชันส่วนสำคัญต่าง ๆ ดังนี้
การสร้างห้องน้ำสำหรับผู้สูงอายุ อย่างแรกต้องพึ่งระลึกไว้ว่าควรอยู่ที่ชั้นล่างของบ้าน เนื่องจากผู้สูงอายุเดินทางเคลื่อนไหวขึ้นบันไดลำบาก และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย อีกทั้งระยะห่างระหว่างเตียงนอนของผู้สูงอายุต้องสามารถเข้าถึงห้องน้ำได้สะดวก และภายในห้องนอนต้องมีการระบายอากาศที่ถ่ายเทสะดวก หน้าต่างควรอยู่ทางทิศตะวันออกเพื่อเปิดรับแสงแดดยามเช้า เพราะจะช่วยให้ผู้สูงอายุทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของเวลาในแต่ละวัน รู้สึกสดชื่นอารมณ์ดีมากขึ้น ส่วนสีห้องนอนควรใช้เป็นสีฟ้า จะช่วยกระตุ้นประสาทสัมผัส ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย สงบ ลดอาการนอนไม่หลับได้
วัสดุปูพื้นในห้องน้ำของผู้สูงอายุต้องเป็นวัสดุพื้นกันลื่นและเรียบเนียนเสมอกันเท่านั้น เนื่องจากห้องน้ำจัดเป็นจุดที่ผู้สูงอายุหกล้มเกิดอุบัติเหตุได้บ่อยที่สุด ควรจัดแยกพื้นที่โซนเปียกสำหรับอาบน้ำ และโซนแห่งให้ชัดเจน ป้องกันน้ำกระเด็นหกเลอะพื้นห้องน้ำ รวมถึงตามจุดต่าง ๆ ในห้องต้องมีการติดราวมือจับช่วยในการพยุงเดิน เพื่อที่ผู้สูงอายุจะได้ทำธุระส่วนตัวได้ด้วยตนเอง
การสร้างห้องนั่งเล่นสำหรับผู้สูงวัยควรอยู่ในจุดทิศเหนือของบ้าน เพื่อที่จะได้มีแสงสว่างตลอดวัน ไม่มีแสงแดดส่องกระทบโดยตรง ไม่ร้อนไม่หนาวจนเกินไป บานหน้าต่างภายในห้องควรอยู่ไม่สูงจากระดับพื้นห้องมากนัก ผู้สูงอายุจะได้รับชมวิวทิวทัศน์นอกบ้านได้สะดวก ทำให้ไม่รู้สึกอึดอัด และสดชื่นยิ่งขึ้น
จากการศึกษาด้านจิตวิทยาสีพบว่า การเลือกสีสำหรับสร้างบ้านให้ผู้สูงอายุอาศัยอยู่ ควรเลือกโทนสีที่ให้ความรู้สึกสงบผ่อนคลาย สดใส นุ่มนวล เนื่องจากโทนสีเหล่านี้มีผลต่อการปรับสภาพอารมณ์ความรู้สึก และมีผลต่อความกระชุ่มกระชวยของผู้สูงอายุด้วย
พื้นบ้านทุกส่วนควรต้องเรียบเสมอกันทั้งหมด ไม่ควรยกพื้นต่างระดับหรือมีธรณีประตู เพราะอาจทำให้ผู้สูงอายุเดินสะดุดล้มได้ง่าย วัสดุปูพื้นก็ควรมีความหนืดช่วยในการยึดเกาะ ระหว่างทางเดินตามริมกำแพงต้องติดตั้งราวจับสำหรับพยุงตัวเดิน หากบ้านไหนที่ผู้สูงอายุนั่งรถเข็น แนะนำให้ทำทางลาดสำหรับเข็นรถเข็นสะดวกไว้ด้วย
ประตูเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ ของบ้านควรมีลักษณะเป็นประตูบานเลื่อนแบบรางเรียบที่มีขนาดความกว้าง 180 เซนติเมตร ขึ้นไปเท่านั้น เนื่องจากผู้สูงอายุมีกล้ามเนื้อมืออ่อนแรง การจับหรือหมุนบิดประตูทำได้ลำบาก อีกทั้งประตูลักษณะนี้ยังช่วยประหยัดพื้นที่ในการใช้งานได้ดี ไม่มีรางที่พื้นให้เสี่ยงต่อการสะดุดล้ม ระยะความกว้างยังเพียงพอต่อการที่รถเข็นผ่านได้สะดวกเช่นกัน ส่วนของมือจับประตูก็ควรเป็นชนิดก้านโยกเพื่อลดการใช้กล้ามเนื้อมือในการออกแรงหมุน
Awii House บริษัทรับสร้างบ้านมืออาชีพ ยินดีให้คำปรึกษารับสร้างบ้านยุคใหม่ที่รองรับอนาคตวัยเกษียณ มีความปลอดภัย ถูกสุขอนามัย ปรับเปลี่ยนฟังก์ชันให้ตอบรับกับการใช้ชีวิตของผู้สูงอายุได้อย่างลงตัว เปลี่ยน “บ้านในฝัน” ให้เป็น “พื้นที่แห่งความสุข” ของทั้งคุณและคนที่คุณรัก พร้อมให้คำปรึกษาในการเลือกวัสดุที่ตอบโจทย์กับพฤติกรรมของผู้สูงอายุอย่างเหมาะสม ภายใต้แนวคิด สร้างบ้านให้ “พอดี” บนความสุขที่คุณ “พอใจ” ช่วยให้การอยู่รวมกันระหว่างคุณ และคนในครอบครัวไม่มีปัญหาอีกต่อไป